เผยแพร่เมื่อ/created date: 9 Dec 2021

เอื้องดินดอกหม่น

Hetaeria oblongifolia Blume
Goodyera ovalifolia Wight; Hetaeria rubicunda Rchb.f.; Rhamphidia ovalifolia (Wight) Lindl.; Rhamphidia tenuis Lindl.; Hetaeria micrantha Blume; Rhamphidia rubicunda (Rchb.f.) Rchb.f.; Hetaeria forcipata Rchb.f.; Rhamphidia discoidea Rchb.f.; Hetaeria tenuis (Lindl.) Benth.; Hetaeria helferi Hook.f.; Hetaeria ovalifolia (Wight) Benth. ex Hook.f.; Hetaeria nitida Ridl.; Hetaeria samoensis Rolfe; Goodyera discoidea (Rchb.f.) Schltr.; Goodyera erimae Schltr.; Epipactis discoidea (Rchb.f.) A.A.Eaton; Epipactis erimae (Schltr.) A.A.Eaton; Hetaeria discoidea (Rchb.f.) Schltr.; Hetaeria erimae (Schltr.) Schltr.; Hetaeria similis Schltr.; Hetaeria pauciseta J.J.Sm.; Hetaeria raymundii Schltr.
-
ORCHIDACEAE
กล้วยไม้ดิน มีเหง้าทอดเลื้อย ลำต้นและยอดตั้งตรง สูง 20-45 ซม. ใบ จำนวน 3-8 ใบ ออกเรียงเวียน แผ่นใบรูปรีถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 3.5-8.5 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม ช่อดอก ออกที่ปลายยอด แบบช่อเชิงลด มากกว่า 10 ดอก ดอก บานเต็มที่กว้าง 5-6 ซม. สีเขียวแกมม่วง กลีบดอกสีขาว กลีบปากสีขาวแกมเหลือง กลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน ด้านหลังกลีบมีขน กลีบดอกรูปแถบถึงรูปใบหอกกลับ กลีบปากรูปไข่ขนานกับเส้าเกสร ปลายกลีบปากคอดเว้าเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดถึงรูปรี โคนกลีบปากมีรยางค์คล้ายเส้นใบ ข้างละ 5-7 เส้น
Terrestrial, rhizome creeping, stem erect from a decumbent base, 20 - 45 cm tall. Leaves 3 - 8, spiral, elliptic to lanceolate-oblong, 1.5 - 4 cm wide, 3.5 - 8.5 cm long, apex acute to acuminate. Inflorescence terminal, more than 10-flowered. Flowers 5 - 6 mm across, purplish-green with white petals and whitish yellow lip; sepals oblong, with glandular hairs on abaxial; petals linear to lanceolate; lip ovate, erect, epichile rhomboid to elliptic, with 5 - 7 filiform entire appendages on either side at base.
พบกระจายพันธุ์เกือบทั่วทุกภาคของประเทศไทยตามป่าดิบเขตร้อน ป่าดิบเขา และป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูง 0-500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม - เมษายน. การกระจายพันธุ์: ศรีลังกา ญี่ปุ่น ตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก. การกระจายพันธุ์: ศรีลังกา ญี่ปุ่น ตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก
Widely distributed throughout Thailand in tropical evergreen forest, hill evergreen forest and mixed evergreen forest; 0 - 500 m alt. Flowering in December - April. Distribution: Sri Lanka to Japan, Northeast Australia and Pacific Islands.
-
-

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). กล้วยไม้ไทย เทิดไท้พระบรมราชชนนีพันปีหลวง. บริษัท เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซน์ จำกัด, เชียงใหม่. 320 หน้า.

-

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: